เมนู

ได้แล้ว ก็ไม่ปรากฏ (ลืมหมด).
บทว่า วิจิกิจฺฉา ความว่า ไม่ใช่ วิจิกิจฉา (ความสงสัย)
อย่างสำคัญ เนื่องจากว่า ท่านไม่เกิดความสงสัยว่า "ศาสนานำสัตว์
ออกจากทุกข์ได้หรือไม่หนอ" แต่ท่านมีความคิดอย่างนี้ว่า ''เราจัก
สามารถบำเพ็ญสมณธรรมได้หรือหนอ หรือจักทำได้แต่เพียง
ครองบาตรและจีวรเท่านั้น "1

กามทั้งหลายมีรสอร่อยน้อย


บทว่า กามานเมตํ อธิวจนํ ความว่า เมื่อบุคคลมองดูสระน้อย
ที่ลาดลุ่ม มีแต่เพียงน่าดู น่ารื่นรมย์ แต่ (ถ้า) บุคคลใดลงไปใน
สระน้อยที่ลาดลุ่มนี้ สระนั้นก็จะฉุดลากผู้นั้นให้ถึงความพินาศ2 เพราะ
สระน้อยนั้นมีปลาดุชุกชุม ฉันใด ในกามคุณ 5 ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (คือ)
ทวารทั้งหลายมีจักษุทวารเป็นต้น3 มีแต่เพียงความน่ารื่นรมย์ ใน
เพราะ (เห็น) อารมณ์ (เป็นต้น) แต่ (ถ้า) บุคคลใด ติดใจในกามคุณ 5 นี้
มันก็จะลากจูงบุคคลนั้นไปยัดใส่ในทุคคติภูมิ มีนรกเป็นต้น นั่นแล.
เพราะว่า กามทั้งหลายมีรสอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
ในกามเหล่านี้ มีโทษยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัย
อำนาจประโยชน์ดังว่ามานี้ จึงตรัสว่า กามานเมตํ อธิวจนํ.
บทว่า อหมนุคฺคเหน ความว่า เราตถาคตจะอนุเคราะห์ด้วย
การอนุเคราะห์ด้วยธรรมและอามิส.
1. ปาฐะว่า ปตฺตจีวรํ ธรายนมตฺตเมว เชิงอรรถเป็น ปตฺตจีวรธารณมตฺตเมว แปลว่าตามเชิงอรรถ
2. ปาฐะว่า ปาเปนฺติ เชิงอรรถและฉบับพม่าเป็น ปาเปติ แปลตามนัยหลัง
3. ปาฐะว่า จกฺขุทฺวาราทีนิ ฉบับพม่าเป็น จกฺขุทฺวาราทีนํ แปลตามฉบับพม่า

บทว่า อภินนฺทิ คือรับเอา และไม่ใช่แค่รับเอาอย่างเดียว
(เท่านั้น) ยังชื่นชมด้วย.
ก็ท่านพระติสสะ ได้รับการปลอบใจจากสำนักพระศาสดานี้แล้ว
พากเพียรพยายามอยู่ไม่กี่วัน ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์.
จบ อรรถกถาติสสสูตรที่ 2

3. ยมกสูตร



ว่าด้วยพระขีณาสพตายแล้วสูญหรือไม่



[198] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร อยู่ที่พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล
ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อม
ขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ภิกษุหลายรูป ได้ฟังแล้วว่า
ได้ยินว่า ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เรารู้ถึงธรรม
ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพ เมื้อตายไปแล้ว
ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงพากัน
เข้าไปหาท่านยมกภิกษุถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านยมกภิกษุ
ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยชวนให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วจึงถามท่านยมกภิกษุว่า ดูก่อนท่านยมกะ
ทราบว่า ท่านเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว
ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก จริงหรือ ท่านยมกะกล่าวว่า
อย่างนั้นอาวุโส.